http://nippanintercrop.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Profile

Product

Article

Pictures

Webboard

Contact Us

สถิติ

เปิดเว็บ16/01/2016
อัพเดท05/10/2017
ผู้เข้าชม19,252
เปิดเพจ30,009
สินค้าทั้งหมด5

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

ตัวอย่างหมวดหมู่

iGetWeb.com
AdsOne.com

วัตถุดิบที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป

วัตถุดิบที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป

วัตถุดิบที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป

 

1.วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีน วัตถุดิบต้องมีโปรตีนมากกว่า 20% สามารถแบ่ง ออกได้ 2 แหล่งใหญ่ๆ 2 แหล่งคือ

1.1

แหล่งโปรตีนจากสัตว ได้แก่ ปลาป่น ปลาสด เลือดป่น ขนไก่ป่น เนื้อกระดูกป่น กุ้งป่น เศษไก่ป่น ไส้ไก่ หัวไก่ ปูป่น ผลิตภัณฑ์จากนม ฯลฯ

1.2

แหล่งโปรตีนจากพืช ได้แก่ กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากเมล็ดฝ้าย กากมะพร้าวอัด กากงา กากองุ่น ใบกระถินป่น  โปรตีนสกัดเข้มข้นจากข้าวโพด และจากข้าวสาลี ฯลฯ

 

วัตถุดิบ ความชื้น โปรตีน ไขมัน กาก NEF# เถ้า ข้อสังเกต
ปลาป่น 9.7 55.0 6.0 2.4 3.3 24.6 เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี
ปลาสด 67.5 18.0 1.3 - - 1.5 เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แต่มีเอนไซม์ไทอามิเนส
ดักแด้ไหม 4.7 56.8 31.3 3.9 6.4 5.2 โปรตีนคุณภาพดีพอควร มีไขมันและสารไคตินสูง
เนื้อหอยเชอรี่ 78.0 11.3 0.6 - - 4.4 มีเถ้าสูงอาจมีพยาธิ จึงควรต้มและทำให้แห้ง
หัวและเปลือกกุ้งป่น 10.0 40.6 2.6 14.2 2.6 30.0 มีแร่ธาตุ เถ้า สารไคติน ไคลินสูง แต่งกลิ่นอาหารดี
เศษไก่ป่น 6.5 57.5 15.0 2.3 3.1 15.6 มีไขมันสูง หืนง่าย
ไส้ไก่สด 73.7 13.9 11.2 - - 1.2 มีไขมันสูง หืนง่าย
หัวไก่สด 38.8 26.9 26.4 0.3 - 7.6 มีไขมันสูงมาก หืนง่าย
กากถั่วเหลือง 11.8 46.9 1.3 6.5 25.1 8.4 แหล่งโปรตีนจากพืช แต่มีเมทไธโอนีน ไลชีนต่ำ
กากถั่วลิสง 7.0 48.0 5.8 7.0 27.1 5.1 มีเมทไธโอนีน แคลเซียม ต่ำอาจมีพิษจากรา
กากเมล็ดฝ้าย 9.8 41.7 1.5 11.3 28.8 6.9 มีสารพิษกอสสิปอล
กากมะพร้าวอัด 8.5 20.8 6.3 12.0 45.4 7.0 มีเมทไธโอนีนและไลซินต่ำ อาจมีพิษจากรา
กากเมล็ดงา 8. 40.4 10.6 6.4 24.2 10.4 มีเมทไธโอนีน แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ไลชินต่ำ
***ใบกระถิน*** 10.0 23.9 2.9 9.4 49.5 3.2 มีสารพวกแอลคาลอย ซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโต
ใบหม่อนสี 8.8 22.2 4.8 12.7 46.9 15.5
-

NFE# = คาร์โบไฮเดตรที่ละลายน้ำ

 

2.วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งพลังงาน วัตถุดิบประเภทนี้มีโปรตีนต่ำกว่า 20% แต่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งสูง ได้แก่ เมล็ด และผลิตภัณฑ์ของเมล็ดธัญพืช เช่นข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวโอ้ตและรำ ของเมล็ดธัญพืช โปรตีนของวัตถุดิบเหล่านี้มีค่าระหว่าง 8-12% มีแป้ง ในปริมาณสูง ถึง 60-80% และไขมันมีค่าระหว่าง 1-8%

     ข้อพึงสังเกต วัตถุดิบประเภทนี้ที่น่าสนใจคือ มีคุณสมบัติเป็นตัวประสานอาหารเข้าด้วยกันหรือใช้เป็นสารเหนียว

 

วัตถุดิบ ความชื้น โปรตีน ไขมัน กาก NEF# เถ้า ข้อสังเกต
ปลายข้าว 11.6 7.1 1.4 0.5 75.2 4.2 -
รำละเอียด 10.0 12.2 11.8 12.3 40.6 13.1 มีวิตามินบี 1 และไนอาซีนสูง
ข้าวโพด 11.2 9.4 0.2 0.8 77.2 1.2 มีวิตามินเอ (แคโรตีน) และกรดลิโนเลอิคสูง
รำข้าวสาลี 12.1 14.7 4.0 9.9 53.5 5.8 -
ข้าวฟ่าง 11.2 10.6 3.0 1.9 71.4 1.9 บางพันธุ์มีสารแทนนินสูง มีแคลเซียมต่ำ
มันสำปะหลัง 13.5 2.2 0.5 3.0 75.8 5.0 มีสารพิษจำพวกกรดไฮโดรไซยานิค
กากเมล็ดปาล์ม 8.9 14.0 2.6 17.4 - 3.8 มีกากสูง
หญ้าขน 7.1 12.2 1.1 27.7 67.9 11.6 มีกากสูง

NFE# = คาร์โบไฮเดตรที่ละลายน้ำ

 

3.วัตถุดิบจำพวกวิตามินและแร่ธาต วิตามินและแร่ธาตุที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารมักอยู่ในรูปสารประกอบเคมีและเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในปริมาณ น้อยมากในสูตรอาหาร จึงทำให้เกิดปัญหา ในการผสมให้ทั่วถึงในทุกๆ ส่วน ดังนั้นจึงไม่นิยมผสมวิตามิน และแร่ธาตุ ในตัว อาหารโดยตรง จึงมักถูกผสมไว้ก่อนล่วงหน้ากับสื่อบางชนิด เช่น กากถั่วเหลือง รำ แกลบบด หรือหินปูน แล้วเรียกสารผสมเหล่า นี้ว่า "สารผสมล่วงหน้า(พรีมิกซ์) บางครั้งอาจเรียกว่า "อาหารเสริม" 

 

4.วัตถุดิบจำพวกไขมัน หรือน้ำมัน เป็นวัตถุดิบที่ให้พลังงาน กรดไขมันที่จำเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน และบางครั้งใช้เป็นสารแต่งกลิ่นอาหารเพื่อ กระตุ้นให้สัตว์น้ำกลิ่นอาหารได้มากขึ้น น้ำมันที่ใช้ผสมอาหารสัตว์น้ำแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆคือ

4.1

น้ำมันจากสัตว์ ได้แก่ น้ำมันปลา น้ำมันปลาหมึก น้ำมันหมู

4.2

น้ำมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ฯลฯ

 

5.วัตถุดิบจำพวกเสริมคุณภาพของอาหาร วัตถุดิบจำพวกนี้ใช้ผสมอาหารเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพิ่มคุณค่า ทางโภชนา การของอาหาร ถึงแม้ว่าบางครั้ง ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมคุณภาพแต่ตัวมันเองจะมีคุณภาพอาหารอยู่ด้วย วัตถุดิบจำพวกนี้แบ่งออก ได้ 3 ประเภทดังนี้

5.1

สารเหนียวหรือบายเดอร์หรือสารประสานอาหาร เป็นสารที่ช่วยทำให้อาหารมีความคงทนในน้ำได้นาน การใช้สารเหนียวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำที่กินอาหารช้าๆ เช่น กุ้ง สารเหนียว สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือเป็นสารพวกโปรตีน สารพวก คาร์โบไฮเดรต และสารสังเคราะห์ หรือ สารธรรมชาติที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร

สารเหนียวพวกโปรตีน (% ที่ใช้) สารเหนียวพวกคาร์โบไฮเดรต (% ที่ใช้) สารเหนียวจากการสังเคราะห์หรือสารธรรมชาติ (%ที่ใช้)

โปรตีนข้นหรือกลูเต้น (3-10%)

ไลอะเจล (3-12%)

บาสฟิน (1%)

เจลลาติน (2-5%)

แป้งข้าวโพด (30%)

ลิกโนชัลโฟเนต (3%)

โปรตีนละลายจากปลา (2-8%)

ข้าวสาลี (20%)

ชี เอ็ม ชี (5%)

ไข่ขาว (5-10%)

ข้าวเจ้า (20-30%)

เบนโทไนท์ (3%)

คลอลาเจน (1%)

แป้งสุก (10%)

อะควาบายด์ (2%)

 

กล้วย (10%)

อะควาบายด์ (2%)

 

รำถั่วเขียว (25%)

คาราจีแนน (5%)

 

5.2

สารแต่งกลิ่นอาหาร เป็นสารช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของอาหารให้มีความน่ากินมากขึ้น กลิ่นในอาหารที่สัตว์น้ำ ชอบมักเป็นกลิ่นที่มีในอาหาร ตามธรรมชาติของมัน เช่น อาหารปลาที่กินเนื้อเป็น อาหารจะชอบกลิ่นของเนื้อกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก ฯลฯ ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ สามารถ หาได้จากเศษชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วของสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว เช่น น้ำมันปลา น้ำมันปลาหมึก หัวและเปลือกกุ้งป่น เศษปลาหมึกป่น ตับวัวป่น ฯลฯ

5.3

สารกันหืนและรา ความหืนของอาหารเกิดขึ้นจากไขมันในอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และการที่อาหารขึ้นราก็เพราะอาหารนั้นมีความชื้นสูงเกิน 12 % ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้คุณค่าของอาหารเสียไป ในการทำอาหาร จึงมักเติม สารเคมีเพื่อกันหืนในอาหารนั้นด้วย บี เอช ที และบี เอช เอ ซึ่งใช้ในปริมาณ 0.2 % ส่วนสารกันราที่ใช้กันมาก ได้แก่ กรดโพพิโอนิก ซึ่งใช้ในปริมาณ 0.3 %

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/if-inland_feed/distribute/rawmat.htm

view
view